ระดับของภาษา
การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์
สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆได้หลายลักษณะ
เช่น (ภาษาระดับที่เป็นแบบแผนและไม่เป็นแบบแผน),(ภาษาระดับพิธีการ
ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นทางการ) ในชั้นเรียนนี้
เราจะชี้ลักษณะสำคัญของภาษาเป็น ๕ ระดับ ดังนี้
๑. ระดับพิธีการ
ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมรัฐสภา
การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร
การกล่าวสดุดีหรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณความดี การกล่าวปิดพิธี
เป็นต้น ผู้ส่งสารระดับนี้มักเป็นคนสำคัญสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง
ผู้รับสารมักอยู่ในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่
สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ
ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ
ผู้กล่าวมักต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและมักนำเสนอด้วยการอ่านต่อหน้าที่ประชุม
๒. ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ
หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ
ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นบุคคลในวงอาชีพเดียวกัน
ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำและเวลาให้มากที่สุด
๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ
คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง
เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน
มีการโต้แย้งหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นระยะๆ มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม
การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเป็นความรู้ทั่วไป
ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆ รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกัน
๔. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว
อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน
การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์
โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าภาษาระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม
เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
กิจธุระต่างๆรวมถึงการปรึกษาหารือหรือร่วมกัน
๕. ภาษาระดับกันเอง
ภาษาระดับนี้มักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท
สถานที่ใช้มักเป็นพื้นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารไม่มีขอบเขตจำกัด
มักใช้ในการพูดจากัน ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรยกเว้นนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนที่ต้องการความเป็นจริง
(การแบ่งภาษาดังที่กล่าวมาแล้วมิได้หมายความว่าแบ่งกันอย่างเด็ดขาด
ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับอีกระดับหนึ่งก็ได้) https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/home/10-radab-phasa
ระดับของภาษา
1) ภาษาระดับพิธีการ
ภาษาระดับพิธีการเป็นภาษาที่ใช้ในงานระดับสูงที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ เช่น
การกล่าวสดุดี
กล่าวรายงาน กล่าวปราศรัยกล่าวเปิดพิธี
ผู้กล่าวมักเป็นบุคคลสำคัญ
บุคคลระดับสูงในสังคมวิชาชีพหรือวิชาการผู้รับสารเป็นแต่เพียงผู้ฟังหรือผู้รับรู้ไม่ต้องโต้ตอบเป็นรายบุคคล
หากจะมีก็จะเป็นการตอบอย่างเป็นพิธีการในฐานะผู้แทนกลุ่ม
การใช้ภาษาระดับนี้ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเรียกว่า
วาทนิพนธ์ก็ได้ ในการแต่งสารนี้มีคำต้องเลือกเฟ้น ถ้อยคำให้รู้สึกถึงความสูงส่ง
ยิ่งใหญ่จริงจังตามสถานภาพของงานนั้น
2) ภาษาระดับทางการ
ภาษาระดับทางการ ใช้ในงานที่ต้องรักษามารยาท ในการใช้ภาษาค่อนข้างมาก
อาจจะเป็นการรายงาน การอภิปรายในที่ประชุม
การปาฐกถา ซึ่งต้องพูดเป็นการเป็นงาน
อาจจะมีการใช้ศัพท์เฉพาะเรื่องหรือศัพท์ทางวิชาการบ้างตามลักษณะของเนื้อหาที่ต้องพูดหรือเขียน
3)
ภาษาระดับกึ่งทางการ
ภาษาระดับกึ่งทางการเป็นภาษาที่ใช้ในระดับเดียวกับภาษาทางการที่ลดความเป็นงานเป็นการลงผู้รับและผู้ส่งสารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
มีโอกาสโต้ตอบกันมากขึ้น ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน
การให้ข่าว การเขียนข่าว หรือบทความในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนิยมใช้ถ้อยคำ สำนวน
ที่แสดงความคุ้นเคยกับผู้อ่านหรือผู้ฟังด้วย
4)
ภาษาระดับสนทนาทั่วไป
ภาษาระดับสนทนาทั่วไป เป็นภาษาระดับที่ใช้ในการพูดคุยกันธรรมดา
แต่ยังไม่เป็นการส่วนตัวเต็มที่ยังต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติคู่สนนา
เพราะอาจจะไม่เป็นการพูดเฉพาะกลุ่มพวกของตนเท่านั้นอาจมีบุคคลอื่นอยู่ด้วย
หรืออาจมีบุคคลต่างระดับร่วมสนทนากัน
จึงต้องคำนึงถึงความสุภาพมิให้เป็นกันเองจนกลายเป็นการล่วงเกินคู่สนทนา
5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก
ภาษาระดับกันเองเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับผู้คุ้นเคยสนิทเป็นกันเอง
ใช้พูดจากันในวงจำกัดอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ครอบครัว สถานที่ใช้ก็มักเป็นส่วนตัว
เป็นสัดส่วนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก ได้แก่ ภาษาถิ่น ภาษาสแลง
ภาษาที่ใช้ติดต่อในตลาดในโรงงาน ร้านค้า ภาษาที่ใช้ในการละเล่น
หรือการแสดงบางอย่างที่มุ่งให้ตลกขบขัน เช่น จำอวด ฯลฯ
การใช้ภาษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง
ผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาทซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติผู้อื่นและการรักษาเกียรติของตนเอง
เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี
เป็นผู้มีสมบัติผู้ดี และมีจิตใจดี
ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
๑. ภาษาระดับพิธีการ ๒. ภาษาระดับทางการ ๓.
ภาษาระดับกึ่งทางการ ๔. ภาษาระดับสนทนา ๕. ภาษาระดับกันเอง
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลนอกจากคำนึงถึงความหมายของถ้อยคำสำนวนที่ใช้ยังต้องคำนึงถึงสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล
กาลเทศะ สื่อที่ใช้ในการส่งสาร และลักษณะเนื้อหาซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับภาษาดังนี้
ภาษาระดับพิธีการใช้ในกาลเทศะที่มีพิธีการ เช่น การเปิดงานต่าง ๆ
การกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ ผู้ส่งสารมักเป็นผู้มีตำแหน่งสูง ในวงการนั้น ๆ
ผู้รับสารเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มชนใหญ่ อาจเป็นประชาชนทั้งประเทศ
ลักษณะภาษาจะเป็นถ้อยคำที่สรรมาอย่างไพเราะ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ
จะมักเตรียมเป็นวาทนิพนธ์ และใช้วิธีอ่านต่อที่ประชุม
ภาษาระดับทางการใช้ในการบรรยาย การอภิปราย
หรือการเขียนข้อความที่เสนอต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ
ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในวงการเดียวกัน ติดต่อกันด้วยเรื่องธุรกิจและการงาน
การใช้ถ้อยคำจึงต้องกระชับ ชัดเจน สุภาพ อาจมีศัพท์วิชาการเฉพาะด้านอยู่ด้วย
ภาษาระดับกึ่งทางการใช้ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม
การบรรยายในชั้นเรียน ข่าวและบทความที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชน
เนื้อหาเป็นความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต
เกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น
ภาษาระดับสนทนาใช้ในการสนทนาของบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ
ในกาลเทศะที่ไม่เป็นการส่วนตัว เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน
กิจธุระต่าง ๆ การปรึกษาหารือกัน การเขียนจดหมายถึงเพื่อน
ข่าวและบทความที่เสนอผ่านสื่อมวลชน
ภาษาระดับกันเองใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกันมาก
ใช้ในกาลเทศะที่เป็นการส่วนตัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
นอกจากในนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนเพื่อให้สมจริงอาจมีคำคะนองและภาษาถิ่นปนอยู่
สรุประดับของภาษา
ภาษาแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ดังนี้
1) ภาษาระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ
2) ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ
3) ภาษาระดับกึ่งทางการคล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน
4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไปมักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน
5) ภาาระดับกันเองมักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท