ความสำคัญของภาษา
ภาษา คือ
เครื่องสื่อความเข้าใจของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์
1. ประโยชน์ของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ
- ช่วยธำ รงสังคม เช่น คำ
ทักทายปราศรัยแสดงไมตรีต่อกัน หรือใช้เป็นกฎระเบียบของสังคม
- ช่วยแสดงปัจเจกบุคคล คือ
แสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น นํ้าเสียง ลายมือ รสนิยมอารมณ์
- ช่วยพัฒนามนุษย์ เช่น สามารถถ่ายทอดความรู้
ความคิดและประสบการณ์ให้แก่กันได้
- ช่วยกำหนดอนาคต เช่น คำ สั่ง การวางแผน สัญญา
คำ พิพากษา คำ พยากรณ์ การนัดหมาย
- ช่วยให้จรรโลงใจ เช่น คำ ขวัญ คำ คม คำ ผวน
สำนวน ภาษิต เพลง เป็นต้น
2. อิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ
มนุษย์ไม่ได้ใช้ภาษาเป็นสัญลักษณ์อย่างเดียว
แต่ยังถือว่าภาษาบางคำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลด้วย เช่น การตั้งชื่อคน
มักจะมีความหมายในทางดี ชื่อต้นไม้ที่แฝงความหมายต่างๆ ไว้ด้วย เช่น ขนุน มะยม ยอ
ระกำ ลั่นทม มะไฟ เป็นต้น
ความสำคัญของภาษาไทย
1.เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
การดำเนินชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพจะมีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องราว
ความรู้สึก ความนึกคิด ความต้องการของแต่ละฝ่าย ซึ่งได้แก่ผู้ส่งสาร
ซึ่งจะส่งสารโดยแสดงพฤติกรรมในรูปของการพูด การเขียน หรือแสดงด้วยท่าทาง
ส่วนผู้รับสารจะรับสารด้วยการฟัง การดู หรือการอ่าน
แต่ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารหรือรับสารก็ตาม
เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันคือ ภาษา
2.เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้
บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ สะสม
อนุรักษ์และถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมให้เป็นมรดกของชาติโดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ
คนรุ่นหลังจึงใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการศึกษาแสวงหาความรู้ ประสบการณ์
และรับสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ทั้งการพัฒนาสติปัญญา กระบวนการคิด
การวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่งอกงาม
กลายเป็นผู้ที่มีชีวทัศน์และโลกทัศน์ที่สอดคล้องกับยุคสมัย
สามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ
จึงรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปัจจุบัน
ซึ่งนำมาพัฒนาประเทศชาติได้อย่างดี
3.เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
ในประเทศไทยนอกจากจะมีภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาประจำชาติแล้ว
เรายังมีภาษาถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นภาษาที่ติดต่อกันเฉพาะในกลุ่ม
และเมื่อกำหนดให้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานเป็นภาษาที่ใช้ร่วมกัน
ทำให้การสื่อสารเข้าใจตรงกันทั้งในการศึกษา ในทางราชการ และในสื่อสารมวลชน
การใช้ภาษาไทยกลางช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในสังคมไทยโดยส่วนรวม
4.เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของบรรพบุรุษในรูปของวรรณคดีและวรรณกรรม
การอ่านและการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมแต่ละสมัย
ทำให้ชนรุ่นหลังรับรู้และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้แต่ง เข้าใจสภาพความเป็นอยู่
เข้าใจเหตุการณ์ เข้าใจลักษณะสังคม และสังคมของผู้คนในสมัยนั้นๆ
5.เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติ
การที่ประเทศไทยมีภาษาไทยกลางเป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน
มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรือง
มีอารยธรรม
การใช้ภาษาไทยในการนติดต่อสื่อสารทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
และเกิดความผูกพันเป็นเชื้อชาติเดียวกัน
ทำให้เกิดความปรองดองและร่วมมือกันที่นะพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป
6.เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงไพเราะเมื่อผู้เขียนได้นำมาแต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
เมื่อใครได้อ่านได้ฟังก็จะเกิดความรู้สึกชื่นบาน เกิดความจรรโลงใจ
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอะไรก็ตามซึ่งเป็นเรื่องราวที่ช่วยให้เกิดความจรรโลงใจ
และความชื่นบานนี้จำเป็นต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ภาษาไทยจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตคนไทยมีความสดชื่น
รื่นรมย์ มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เคร่งเครียด เกิดความคิดสร้างสรรค์
และสังคมดำรงอยู่ได้ด้วย
ความสำคัญของภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย
เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์
วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง ทางสังคมและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ
โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า
ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
สรุปความสำคัญของภาษา
สามารถสรุปได้ว่าเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์อันมีคุณค่าของบรรพบุรุษ
เป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติและเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น