วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 วัฒนธรรมและการสื่อสารต่างวัฒนธรรม

คำศัพท์เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม

Culture:
Culture can be defined as all the ways of life including arts, beliefs and institutions of a population that are passed down from generation to generation. Culture has been c
alled "the way of life for an entire society." As such, it includes codes of manners, dress, language, religion, rituals, games, norms of behavior such as law and morality, and systems of belief as well as the art.
วัฒนธรรม:
วัฒนธรรมสามารถกำหนดเป็นวิถีชีวิตรวมทั้งศิลปะความเชื่อและสถาบันการศึกษาของประชากรที่จะถูกส่งผ่านลงมาจากรุ่นสู่รุ่น วัฒนธรรมที่ได้รับการเรียกว่า "วิถีชีวิตสำหรับสังคมทั้งหมด." เช่นนี้มันรวมถึงรหัสของมารยาทการแต่งกายภาษาศาสนาพิธีกรรม, เกมส์, บรรทัดฐานของพฤติกรรมเช่นกฎหมายและศีลธรรมและระบบความเชื่อเช่นเดียวกับศิลปะ


Cultured:
Showing good taste or manners
ได้รับการอบรมสั่งสอน:
แสดงเอกลักษณ์ประจำชาติหรือมารยาทที่ดี


Ethics:
A system of accepted beliefs which control behavior, especially such a system based on morals.
จริยธรรม:
ระบบความเชื่อที่ได้รับการยอมรับควบคุมการทำงานโดยอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม


Civilization:
The social process whereby societies achieve an advanced stage of development and organization
อารยธรรม:
กระบวนการทางสังคมขั้นสูงของการพัฒนาองค์กร


Cultural specificities:
It's interesting to learn about cultural specificities of other countries
วัฒนธรรมเฉพาะ:
สนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับทางวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ที่น่าสนใจ


Culturally acceptable:
It isn't culturally acceptable in some countries to blow your nose in public places.
วัฒนธรรมที่ยอมรับ:
วัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับในประเทศโดยกลุ่มคนส่วนใหญ่


Cultural conflicts:
We should try hard to avoid cultural conflicts as they are a result of a misunderstanding.
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม:
เราควรจะพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางวัฒนธรรมเพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน


Cultural uniqueness:
Culture/customs which make a country distinctive/different from other countries.
เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม:
วัฒนธรรม / ศุลกากรที่ทำให้เป็นประเทศที่โดดเด่น / แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ


Local culture:
Local culture refer to the culture developed at the local level.
วัฒนธรรมท้องถิ่น:
วัฒนธรรมท้องถิ่นหมายถึงวัฒนธรรมที่พัฒนาในระดับท้องถิ่น



Global culture:
Global culture refer to the culture developed at the global level through the new information technologies.
วัฒนธรรมทั่วโลก:
วัฒนธรรมทั่วโลกหมายถึงวัฒนธรรมที่พัฒนาในระดับโลกผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ

http://www.myenglishpages.com/site_php_files/vocabulary-lesson-culture.php


บทความเรื่อง วัยเปลี่ยน วัฒนธรรมเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน แต่ประสบการณ์เพิ่มขึ้น

การดำเนินชีวิตของมนุษย์แต่ต่างกันออกไปตามช่วงอายุคน คนเราพบเจอสุขแล้วก็ทุกข์ไปพร้อม ๆ กัน ไม่มีใครอยู่มีความสุขตลอดเวลา ชีวิตผมก็เป็นเช่นนั้น

                วัยมัธยมเริ่มตั้งแต่เข้ามาอยู่ในมัธยม ผมเป็นคนที่ซื่อ ๆ โดนแกล้งบ่อย ๆ ขี้กลัวขี้อาย เวลาที่มีการพูดหน้าชั้นเรียนนะ ขอปฎิเสธก่อนเลยคนแรก แต่ก็โดนผลักให้ออกไปพูด บางทีผมถึงขั้นพูดไม่ออก วิธีแก้ง่าย ๆ ของผมคิดเสมอว่า เรื่องแค่นี้ คงไม่ตายหรอกมั้ง เวลาเรียนผมก็ขี้เกียจแต่ เค้าก็ยังเรียกกันว่าเด็กเรียน อาจเป็นเพราะนิ่ง ๆ เรียบร้อย เกรดก็อยู่ในเกรนกลาง ๆ ไม่สูงมากนัก อาศัยว่าขยันแค่ช่วงสอบ แล้วก็รอดมัธยมปลายมาได้

                วัยก่อนมหาลัย กับการทำงานหลายอย่าง ทำให้ผมได้รู้ว่า ไม่มีอะไรน่ากลัวในชีวิตตราบที่เรายังหายใจ เริ่มจากงานร้านขายยาครับทำตั้งแต่ ขายทำคอม จัดยายันส่งของ แทบไม่มีเวลาหายใจครับ แต่สิ่งพวกนี้ที่สำคัญที่สุดในการทำงานคือการทำให้สนุกกับมัน  งานที่สองของผมคือ ขายของร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง อันนี้หนักกว่าเยอะครับเพราะผมต้องเอาตัวรอดในต่างจังหวัดด้วย ทำตั้งแต่ขายของเต็มของ ขัดร้าน ล้างบ่อ ล้างท่อ ล้างส้วมแม้กระทั่งแอร์ร้านเลยทีเดียวครับ งานนี้ผ่านปัญหาต่าง ๆ มาได้เพราะ ผมเป็นคนชอบเดินครับ เวลาเลิกงานก็ไปเดินหาวิวสวย ๆกินของอร่อย ๆ เครียดมากมาก ก็ความเผ็ดเลยครับ แต่ก็ได้ผ่านชีวิตช่วงนั้นมาได้

                วัยมหาลัย เป็นวัยที่จะว่าผมมีความสุขที่ไม่ต้องไปเผชิญแบบนั้น ปัญหาทุกอย่างเลยเล็กลงทุกอย่างเพราะ ผมเคยเจอที่ใหญ่กว่ามาแล้ว อาจจะมีเหนื่อยบ้าง แต่ก็ยังมีกำลังใจรอบข้างดีมาก ๆ ทำให้เรามองข้ามเรื่องราวเหนื่อยไป เป็นชีวิตที่กล้าได้กล้าเสียครับ เพราะเราไม่สามารถเลือกสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ได้แต่เพียงตั้งรับมันไว้และพร้อมที่จะเผชิญมัน

                ไม่ว่าเรื่องราวชีวิตจะผ่านไปเยอะแค่ไหน วัฒนธรรมสังคมก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทุกอย่างล้วนแต่เป็นประสบการณ์ ที่ทำให้เราเรียนรู้ที่จะแข็งแรงขึ้น สิ่งที่เราควรทำมาที่สุดคือการมอง มุมบวก ตั้งรับสิ่งที่ไม่คาดคิดเสมอและสุดท้าย เราควรมีรอยยิ้มในการแก้ปัญหาครับ แล้วทุกอย่างจะผ่านไป



บทที่ 3 การอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับวิชาชีพครู



Main idea

In early childhood education or child of any age.Should take into account the development of children that is important. 


Details

When someone talks of development in infancy and early childhood you should know this is the most advanced period of development . Parents must show an interest the child for good development all four sides of the body,mental,social,emotional and intellectual. Ouring early childhood the praent and child relationship seem to shift a bit. This relationship can hinder or grow the child is development. Early childhood education can help a child each up or continue to grow socially and cognitively.

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 2 การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในวิชาชีพครู

การแนะนำตนเองต่อนักเรียน (Giving Self –introduction to Students)



การเริ่มบทสนทนากับผู้เรียน(Breaking the Ice with Students)




การให้คำปรึกษากับผู้เรียน(Giving Students Advices) 

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทักษะและเทคนิคการใช้ภาษาและลีลาในการสอน

ทักษะการสอนและเทคนิคการสอน
 ทักษะ คือ การพูดของผู้สอนว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและวิธีการพูดโน้มน้าวผู้เรียนต่างๆ และทักษะการเคลื่อนไหว ผู้สอนควรจะเคลื่อนไหว ผู้สอนอย่างไรให้เหมาะสมกริยาท่าทางต่างๆที่ผู้สอนเคลื่อนไหวในชั้นเรียนและตลอดเวลาการสอนและหมายถึงความคล่องแคล้ว ความชำนาญในการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีและรูปเล่มที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ
การสอน คือ การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์


 เทคนิคการใช้วาจากิริยา ท่าทางประกอบการสอน

1.การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนอิริยาบท
 เริ่มแรกที่เข้ามาในห้องเรียนครูควรเดินด้วยท่าทางที่เหมาะสมสง่างามและดูเป็นธรรมชาติ
2.การใช้มือแลแขน
ใช้มือประกอบท่าทางในการพุด ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดุดใจของนักเรียน เพราะนักเรียนสนใจดูสิ่งเคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง
3.การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
การแสดงออกทางหน้าตา สายตา เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายกับผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจถึงความรู้สึก หรือเข้าใจในอารมณ์การสอน ในการสอนบทเรียนที่มีความตื่นเต้น สีหน้าของครูต้องคล้อยตามสัมพันธ์กับความรู้สึกดังกล่าวด้วย
4.การทรงตัวและการวางท่าทาง
ควรวางท่าให้เหมาะสม ไม่ดูตรึงเครียด หรือเกรงเกินไป  ควรวางท่าทางและทรงตัวขณะสอนให้ดูเป็นธรรมชาติแต่ก็ไม่ดูปล่อยตามสบายจนเกินไป
5.การใช้น้ำเสียง
ควรใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนเหมาะสม ไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีการออกเสียงการใช้ถ้อยคำถูกต้อง  ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่สมควรออกทางน้ำเสียงเพราะโดยปกติแล้วน้ำเสียงของครูสามารถบอกอารมณ์ได้และความรู้สึกของครูได้อย่างดี ถ้าครูเสียงดีนักเรียนก้จะมีความรู้สึกที่ดีต่อครู
6.การแต่งกาย
ครูควรแต่งกายให้ถุกต้องเหมาะสมเพราะถ้าครูแต่งกายสวยเดนจนเกินไปทำให้นกเรียนจะให้ความสนใจกับครูมากกว่าบทเรียน ผู้สอนควรแต่งกายให้เรียบร้อย

คุณลักษณะทั่วไป
๑ . มั่นใจในตนเอง เตรียมพร้อม ซ้อมดี มีสื่อและวิธีการ ที่เหมาะสม
๒ . เป็นคนช่างสังเกต คอยสังเกตพฤติกรรมทางกาย วาจา ตลอดจนกระบวนการกลุ่มของผู้เข้ารับการอบรม
๓ . มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๔ . แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง
๕ . มีการวางแผนที่ดี ทั้งเนื้อหาและลำดับขั้นตอนการนำเสนอรวมทั้งสื่อและเครื่องมือการสื่อสาร
๖ . มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและประสานงานเก่ง
๗ . มีบุคลิกภาพที่ดี
๘ . มีความเป็นกัลยาณมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง คอยช่วยเหลือด้วยน้ำใจ มีความเมตตา ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีความเห็นใจของผู้เข้ารับากรอบรม
๙ . เป็นนักประชาธิปไตย มีความยืดหยุ่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่สรุปตัดบทง่าย ๆ เมื่อมีผู้เสนอความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป
๑๐ . มีความจิรงใจในการถ่ายทอดความรู้
๑๑ . ปฏิบัติตนต่อผู้เข้ารับการอบรมอย่างเสมอภาค ทัดเทียม วางตนเหมาะสมกับทุกคน
๑๒ . มีแบบฉบับลีลาที่เป็นของตนเองยอมรับจุดเด่นและจุดด้อยของตนและ มึความภูมิใจและเข้าใจ ในบุคลิกภาพของตนเอง และใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ

สรุป ทักษะและเทคนิคการใช้ภาษาและลีลาในการสอน 
ทักษะทางภาษาแบ่งทักษะออกเป็น  4  ทักษะ ได้แก่  ทักษะการฟัง  การพูด  การอ่าน และการเขียน

ทักษะทั้ง  ด้านมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน 

ระดับของภาษา

ระดับของภาษา
การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆได้หลายลักษณะ เช่น (ภาษาระดับที่เป็นแบบแผนและไม่เป็นแบบแผน),(ภาษาระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นทางการ) ในชั้นเรียนนี้ เราจะชี้ลักษณะสำคัญของภาษาเป็น ๕ ระดับ ดังนี้
๑. ระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร การกล่าวสดุดีหรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณความดี การกล่าวปิดพิธี เป็นต้น ผู้ส่งสารระดับนี้มักเป็นคนสำคัญสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารมักอยู่ในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ ผู้กล่าวมักต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและมักนำเสนอด้วยการอ่านต่อหน้าที่ประชุม
๒. ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นบุคคลในวงอาชีพเดียวกัน ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำและเวลาให้มากที่สุด
๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน มีการโต้แย้งหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นระยะๆ มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเป็นความรู้ทั่วไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆ รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกัน
๔. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าภาษาระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจธุระต่างๆรวมถึงการปรึกษาหารือหรือร่วมกัน
๕. ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับนี้มักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท สถานที่ใช้มักเป็นพื้นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารไม่มีขอบเขตจำกัด มักใช้ในการพูดจากัน ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรยกเว้นนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนที่ต้องการความเป็นจริง (การแบ่งภาษาดังที่กล่าวมาแล้วมิได้หมายความว่าแบ่งกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับอีกระดับหนึ่งก็ได้) https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/home/10-radab-phasa

ระดับของภาษา

1) ภาษาระดับพิธีการ
              ภาษาระดับพิธีการเป็นภาษาที่ใช้ในงานระดับสูงที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวสดุดี
กล่าวรายงาน กล่าวปราศรัยกล่าวเปิดพิธี ผู้กล่าวมักเป็นบุคคลสำคัญ บุคคลระดับสูงในสังคมวิชาชีพหรือวิชาการผู้รับสารเป็นแต่เพียงผู้ฟังหรือผู้รับรู้ไม่ต้องโต้ตอบเป็นรายบุคคล หากจะมีก็จะเป็นการตอบอย่างเป็นพิธีการในฐานะผู้แทนกลุ่ม การใช้ภาษาระดับนี้ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเรียกว่า วาทนิพนธ์ก็ได้ ในการแต่งสารนี้มีคำต้องเลือกเฟ้น ถ้อยคำให้รู้สึกถึงความสูงส่ง ยิ่งใหญ่จริงจังตามสถานภาพของงานนั้น
2) ภาษาระดับทางการ
              ภาษาระดับทางการ ใช้ในงานที่ต้องรักษามารยาท ในการใช้ภาษาค่อนข้างมาก
อาจจะเป็นการรายงาน การอภิปรายในที่ประชุม การปาฐกถา ซึ่งต้องพูดเป็นการเป็นงาน  อาจจะมีการใช้ศัพท์เฉพาะเรื่องหรือศัพท์ทางวิชาการบ้างตามลักษณะของเนื้อหาที่ต้องพูดหรือเขียน
3) ภาษาระดับกึ่งทางการ
              ภาษาระดับกึ่งทางการเป็นภาษาที่ใช้ในระดับเดียวกับภาษาทางการที่ลดความเป็นงานเป็นการลงผู้รับและผู้ส่งสารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีโอกาสโต้ตอบกันมากขึ้น ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน การให้ข่าว การเขียนข่าว หรือบทความในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนิยมใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่แสดงความคุ้นเคยกับผู้อ่านหรือผู้ฟังด้วย
4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป     
               ภาษาระดับสนทนาทั่วไป เป็นภาษาระดับที่ใช้ในการพูดคุยกันธรรมดา แต่ยังไม่เป็นการส่วนตัวเต็มที่ยังต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติคู่สนนา เพราะอาจจะไม่เป็นการพูดเฉพาะกลุ่มพวกของตนเท่านั้นอาจมีบุคคลอื่นอยู่ด้วย หรืออาจมีบุคคลต่างระดับร่วมสนทนากัน  จึงต้องคำนึงถึงความสุภาพมิให้เป็นกันเองจนกลายเป็นการล่วงเกินคู่สนทนา
              5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก
               ภาษาระดับกันเองเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับผู้คุ้นเคยสนิทเป็นกันเอง ใช้พูดจากันในวงจำกัดอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ครอบครัว    สถานที่ใช้ก็มักเป็นส่วนตัว เป็นสัดส่วนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก ได้แก่ ภาษาถิ่น ภาษาสแลง ภาษาที่ใช้ติดต่อในตลาดในโรงงาน ร้านค้า ภาษาที่ใช้ในการละเล่น หรือการแสดงบางอย่างที่มุ่งให้ตลกขบขัน เช่น จำอวด ฯลฯ
              การใช้ภาษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง ผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาทซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติผู้อื่นและการรักษาเกียรติของตนเอง เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี เป็นผู้มีสมบัติผู้ดี และมีจิตใจดี


ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
๑. ภาษาระดับพิธีการ ๒. ภาษาระดับทางการ ๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ ๔. ภาษาระดับสนทนา ๕. ภาษาระดับกันเอง

            ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลนอกจากคำนึงถึงความหมายของถ้อยคำสำนวนที่ใช้ยังต้องคำนึงถึงสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล กาลเทศะ สื่อที่ใช้ในการส่งสาร และลักษณะเนื้อหาซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับภาษาดังนี้

            ภาษาระดับพิธีการใช้ในกาลเทศะที่มีพิธีการ เช่น การเปิดงานต่าง ๆ การกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ ผู้ส่งสารมักเป็นผู้มีตำแหน่งสูง ในวงการนั้น ๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มชนใหญ่ อาจเป็นประชาชนทั้งประเทศ ลักษณะภาษาจะเป็นถ้อยคำที่สรรมาอย่างไพเราะ ก่อให้เกิดความจรรโลงใจ จะมักเตรียมเป็นวาทนิพนธ์ และใช้วิธีอ่านต่อที่ประชุม

            ภาษาระดับทางการใช้ในการบรรยาย การอภิปราย หรือการเขียนข้อความที่เสนอต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในวงการเดียวกัน ติดต่อกันด้วยเรื่องธุรกิจและการงาน การใช้ถ้อยคำจึงต้องกระชับ ชัดเจน สุภาพ อาจมีศัพท์วิชาการเฉพาะด้านอยู่ด้วย

            ภาษาระดับกึ่งทางการใช้ในการประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าวและบทความที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชน เนื้อหาเป็นความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต เกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น

            ภาษาระดับสนทนาใช้ในการสนทนาของบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ ในกาลเทศะที่ไม่เป็นการส่วนตัว เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน กิจธุระต่าง ๆ การปรึกษาหารือกัน การเขียนจดหมายถึงเพื่อน ข่าวและบทความที่เสนอผ่านสื่อมวลชน

            ภาษาระดับกันเองใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ที่มีสัมพันธภาพใกล้ชิดกันมาก ใช้ในกาลเทศะที่เป็นการส่วนตัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากในนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนเพื่อให้สมจริงอาจมีคำคะนองและภาษาถิ่นปนอยู่

สรุประดับของภาษา
ภาษาแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ  ดังนี้
             1) ภาษาระดับพิธีการ ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ
             2) ภาษาระดับทางการ ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ
             3) ภาษาระดับกึ่งทางการคล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน 
             4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไปมักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน

             5) ภาาระดับกันเองมักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท

ความสำคัญของภาษา

ความสำคัญของภาษา
ภาษา คือ เครื่องสื่อความเข้าใจของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์
1. ประโยชน์ของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ
- ช่วยธำ รงสังคม เช่น คำ ทักทายปราศรัยแสดงไมตรีต่อกัน หรือใช้เป็นกฎระเบียบของสังคม
- ช่วยแสดงปัจเจกบุคคล คือ แสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น นํ้าเสียง ลายมือ รสนิยมอารมณ์
- ช่วยพัฒนามนุษย์ เช่น สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดและประสบการณ์ให้แก่กันได้
- ช่วยกำหนดอนาคต เช่น คำ สั่ง การวางแผน สัญญา คำ พิพากษา คำ พยากรณ์ การนัดหมาย
- ช่วยให้จรรโลงใจ เช่น คำ ขวัญ คำ คม คำ ผวน สำนวน ภาษิต เพลง เป็นต้น
2. อิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ มนุษย์ไม่ได้ใช้ภาษาเป็นสัญลักษณ์อย่างเดียว แต่ยังถือว่าภาษาบางคำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลด้วย เช่น การตั้งชื่อคน มักจะมีความหมายในทางดี ชื่อต้นไม้ที่แฝงความหมายต่างๆ ไว้ด้วย เช่น ขนุน มะยม ยอ ระกำ ลั่นทม มะไฟ เป็นต้น

ความสำคัญของภาษาไทย
  1.เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
การดำเนินชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพจะมีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องราว ความรู้สึก ความนึกคิด ความต้องการของแต่ละฝ่าย ซึ่งได้แก่ผู้ส่งสาร ซึ่งจะส่งสารโดยแสดงพฤติกรรมในรูปของการพูด การเขียน หรือแสดงด้วยท่าทาง ส่วนผู้รับสารจะรับสารด้วยการฟัง การดู หรือการอ่าน แต่ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารหรือรับสารก็ตาม เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันคือ ภาษา
 2.เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้
บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ สะสม อนุรักษ์และถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมให้เป็นมรดกของชาติโดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ คนรุ่นหลังจึงใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการศึกษาแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ และรับสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ทั้งการพัฒนาสติปัญญา กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่งอกงาม กลายเป็นผู้ที่มีชีวทัศน์และโลกทัศน์ที่สอดคล้องกับยุคสมัย สามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ จึงรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งนำมาพัฒนาประเทศชาติได้อย่างดี
3.เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
ในประเทศไทยนอกจากจะมีภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาประจำชาติแล้ว เรายังมีภาษาถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นภาษาที่ติดต่อกันเฉพาะในกลุ่ม และเมื่อกำหนดให้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานเป็นภาษาที่ใช้ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเข้าใจตรงกันทั้งในการศึกษา ในทางราชการ และในสื่อสารมวลชน การใช้ภาษาไทยกลางช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในสังคมไทยโดยส่วนรวม
 4.เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของบรรพบุรุษในรูปของวรรณคดีและวรรณกรรม
การอ่านและการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมแต่ละสมัย ทำให้ชนรุ่นหลังรับรู้และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้แต่ง เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ เข้าใจเหตุการณ์ เข้าใจลักษณะสังคม และสังคมของผู้คนในสมัยนั้นๆ
 5.เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติ
การที่ประเทศไทยมีภาษาไทยกลางเป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีอารยธรรม การใช้ภาษาไทยในการนติดต่อสื่อสารทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเกิดความผูกพันเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ทำให้เกิดความปรองดองและร่วมมือกันที่นะพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป
6.เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงไพเราะเมื่อผู้เขียนได้นำมาแต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง เมื่อใครได้อ่านได้ฟังก็จะเกิดความรู้สึกชื่นบาน เกิดความจรรโลงใจ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอะไรก็ตามซึ่งเป็นเรื่องราวที่ช่วยให้เกิดความจรรโลงใจ และความชื่นบานนี้จำเป็นต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ภาษาไทยจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตคนไทยมีความสดชื่น รื่นรมย์ มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เคร่งเครียด เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสังคมดำรงอยู่ได้ด้วย

ความสำคัญของภาษาไทย
          ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข   และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี  ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า      ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

สรุปความสำคัญของภาษา

                สามารถสรุปได้ว่าเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์อันมีคุณค่าของบรรพบุรุษ เป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติและเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ